Visualizer

วิชวลไลเซอร์ (Visualizer)

 

วิชวลไลเซอร์ (Visualizer) หรือเครื่องฉายภาพสามมิติ เป็นอุปกรณ์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาชนิดหนึ่ง ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณและส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์เครื่องฉาย 
 หรือแสดงผลอื่นๆอีกครั้งหนึ่ง เช่น Projector จอมอนิเตอร์ เพื่อนำเสนอสื่อการเรียนการสอน  หรือการประชุมสัมมนา สามารถนำภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว 
หลักการทำงานคือแปลงสัญญาณภาพเป็นสัญญาณไฟฟ้า โดยใช้กล้องเป็นตัวจับสัญญาณภาพ สามารถนำเสนอวัสดุทึบแสง ภาพถ่าย วัสดุกราฟิก วัสดุสามมิติ วัสดุโปร่งใส 
วัสดุประเภทฟิล์ม ภาพเคลื่อนไหวและไฟล์ภาพนิ่ง วิชวลไลเซอร์มีรายละเอียดที่ผู้ศึกษาควรทราบเพื่อการใช้งานได้อย่างถูกต้องมีรายละเอียดดังนี้
 
1.ส่วนประกอบของ Visualizer ส่วนใหญ่จะมีลักษณะภายนอกและมีส่วนประกอบที่สามารถทำให้วิชวลไลเซอร์ทำงานได้ดังนี้                                                
        1.1 แท่นวางวัตถุ เป็นส่วนประกอบหลักของ Visualizer ผลิตด้วยวัสดุพลาสติกสีขาว สามารถให้แสงส่องผ่านจากด้านในผ่านวัสดุประเภทฟิล์ม Visualizer บางรุ่นไม่มีแท่นวางวัตถุ แต่จะใช้พื้นโต๊ะหรือพื้นผิวที่วาง Visualizer วางวัตถุแทนแท่นวาง                                            
        1.2 แผงควบคุมเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ Visualizer ในการ ควบคุมกล้องวิดีโอ ปรับความคมชัด เลือกลักษณะสัญญาณที่ต้องการนำออก
        1.3 ไฟส่องวัตถุ Visualizer จะมีไฟส่องวัตถุเพื่อความคมชัดของสัญญาณภาพ Visualizer รุ่นใหม่ไฟส่องสว่างวัตถุ จะผลิตด้วยหลอด LED ส่วนรุ่นแรกๆจะเป็นหลอด ฟลูออเรสเชนต์                                         
        1.4 แขนกล้องทำหน้าที่ยึดกล้องหลักกับแท่น Visualizer สามารถปรับขนาดเพื่อทำการจัดเก็บและปรับมุมมองของกล้องได้ 
        1.5 กล้องหลักทำหน้าที่จับภาพวัตถุที่วางบนแท่นวางวัตถุ และส่งสัญญาณภาพออกไปยังอุปกรณ์นำเสนอ กล้องหลักมีความละเอียดในการใช้งานเป็น pixel ในกรณีเป็นระบบ  Digital    
        1.6 สวิตช์ปิด – เปิด ทำหน้าที่ปิด – เปิด เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับ Visualizer             
        1.7 ช่องต่อสัญญาณ  เป็นส่วนประกอบที่ทำหน้าที่รับหรือส่งสัญญาณให้กับอุปกรณ์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา  เช่น  ช่อง S – video  RGB  Composite                          
 
2.หลักการทำงานของวิชวลไลเซอร์ เครื่อง Visualizer ทำหน้าที่เป็นตัวจับภาพแล้วแปลงภาพที่ได้เป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์  แล้วส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ออกไปยังเครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์ เครื่องรับโทรทัศน์ 
 หรืออุปกรณ์แสดงผล หลักการทำงานคล้ายกับกล้องวิดีโอ เพราะใช้กล้องวิดีโอเป็นตัวจับภาพมีตัวรับสัญญาณภาพ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ CMOS และ CCD 
เซลล์รับแสง 2 ชนิดนี้ จะทําหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงโฟตอน (Photon) เป็นพลังงานไฟฟ้า CCD ย่อมาจาก Charge Coupled Device 
จะทําหน้าที่รับแสงและเปลี่ยนค่าแสงเป็นสัญญาณอนาล็อก และแปลงเป็นดิจิทัลอีกครั้งโดยผ่านวงจรแปลงสัญญาณ ส่วน CMOS 
ย่อมาจาก Complementary Metal Oxide Semiconductor มีลักษณะการทํางานโดยแต่ละพิกเซลจะมีวงจรย่อยๆ เปลี่ยนค่าแสงเป็นสัญญาณดิจิทัลจากนั้นจะส่งสัญญาณต่อไปยังอุปกรณ์รับภาพ
 
3.การใช้งาน Visualizer มีลักษณะการใช้งานที่ถูกต้องดังนี้
 
        3.1 ติดตั้ง  Visualizer  บนโต๊ะและวางในบริเวณที่ผู้ใช้สามารถใช้งานได้สะดวก
 
        3.2 ติดตั้ง  Visualizer ให้พร้อมใช้งาน โดยจับไฟส่องวัตถุให้ส่องไปยังแท่นวางวัตถุ ยกหัวกล้องให้ตั้งฉากกับวัตถุ พร้อมกับเสียบปลั๊กไฟให้เรียบร้อย
 
        3.3ต่อสายสัญญาณเข้ากับอุปกรณ์ในการนำเสนอผ่านทางช่องสัญญาณในบางกรณีจะใช้ Visualize ถูกใช้เป็นตัวเลือกสัญญาณ เช่น ต่อสัญญาณจากคอมพิวเตอร์เข้าVisualizer และต่อสัญญาณ RGB out ไปยัง Projector เพื่อนำเสนอต่อไป                                  
 
        3.4เปิดสวิตช์ไฟฟ้าเลือกช่องสัญญาณที่ต้องการนำเสนอปรับมุมของแสงไฟที่ต้องการส่องกระทบวัตถุเพื่อป้องกันการสะท้อน 
 
        3.5 ปรับความคมชัดของ Visualizer  โดยการนำวัสดุหรือวัตถุที่ต้องการฉายทดสอบก่อนการใช้งานจริง โดยปกติจะปรับ Focus ที่แผงควบคุม   
 
        3.6เมื่อเลิกใช้งานปิดสวิตช์พับเก็บหลอดไฟและแขนของกล้องให้เรียบร้อยก่อนการเก็บรักษาควรทำความสะอาดบริเวณแท่นวางวัตถุและกล้อง  
 
4.คุณลักษณะต่างๆของ Visualizer ในปัจจุบันเทคโนโลยีของ Visualizer ได้พัฒนาเป็นระบบ Digital ถ้าเป็นรุ่นแรกๆจะเป็น Video Technology หรือระบบ Analog การเลือกใช้ควรมีความรู้เบื้องต้นประกอบดังนี้
 
        4.1 ชนิดของVisualizer ซึ่งควรเลือกใช้ระบบที่เป็นDigital  เช่น LCD  Projector  เพื่อความคมชัดและง่ายต่อการใช้งานกับอุปกรณ์อื่นๆในปัจจุบัน               
 
       4.2ความละเอียดของภาพ(Resolution)เช่น800*6001,600*1,200pixel ความละเอียดสูง ความคมชัดก็จะสูงขึ้น                                                  
   
       4.3ความสว่าง(Brightness)เป็นค่าความสว่างของอุปกรณ์แสดงผลมีหน่วยเป็นAnsi Lumen             
 
      4.4ความสว่างของหลอดไฟมีหน่วยเป็นวัตต์ปัจจุบันใช้เทคโนโลยี LED แทนหลอดฟลูออเรสเชนต์           
 
      4.5 ช่องต่อสัญญาณแบบต่างๆ เช่น  RGB  S – Video  Composite  Video                          
 
      4.6 รูปแบบของ Video เช่น HDTV DTV
 
     4.7ความละเอียดของกล้องมีหน่วยเป็นpixel โดยปกติจะมีCCDเป็นชนิดอุปกรณ์รับสัญญาณภาพและมีขนาดของอุปกรณ์รับภาพเป็นนิ้ว     
 
     4.8ระบบเสียงVisualizer บางรุ่นสามารถใช้ไมโครโฟนและอุปกรณ์ขยายในตัวระบบเสียงที่พบส่วนใหญ่คือ Mono และStereo    
    
     4.9 ระบบไฟฟ้าในประเทศไทยจะใช้แรงดัน 220 Volt ถ้าใช้แรงดันต่ำกว่านี้จะมี  Adaptor เพื่อลดแรงดันเสมอ                         
   
     4.10ระบบปฏิบัติการVisualizer รุ่นใหม่นั้นสามารถแสดงรูปภาพในตัวมันเองโดยแท่นจอภาพแสดงผลขนาดเล็กดังนั้นจึงต้องการระบบปฏิบัติการซึ่งมีทั้ง Window Os และ Mac Os 
 
5.การเลือกซื้อวิชวลไลเซอร์ จำเป็นต้องทราบสิ่งที่สำคัญในการเลือกซื้อ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้                  
 
     5.1จุดประสงค์หลักในการใช้งานตรวจสอบลักษณะงานที่ใช้เป็นลักษณะใด เช่น งานด้านเอกสาร การสอน การนำเสนองาน วัสดุที่ใช้ หากเป็นอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก หรือเป็นลักษณะของฟิล์ม ควรเลือกซื้อวิชวลไลเซอร์ที่มีความละเอียดสูงไม่ควรน้อยกว่าระดับ XGA    
 
     5.2ความสะดวกในการใช้งานถ้ามีลักษณะการใช้งานที่ต้องเคลื่อนที่บ่อยหรือมีการใช้งานนอกสถานที่ควรเลือกซื้อเครื่องวิชวลไลเซอร์ที่มีน้ำหนักเบาหรือเป็นรุ่นที่ไม่มีแท่นวางจะทำให้การทำงานสะดวกยิ่งขึ้น               
 
     5.3 คุณสมบัติทางเทคนิค เช่น การย่อภาพ ขยายภาพ การปรับโฟกัสอัตโนมัติ การบันทึกภาพ การแช่ภาพนิ่ง คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น                        
 
     5.4การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์วิชวลไลเซอร์รุ่นใหม่มีการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์หรือสามารถจัดเก็บไฟล์ภาพแล้วเชื่อมโยงไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกไฟล์ภาพและวิดีโอได้             
 
     5.5 เลนส์ควรมีอัตราการซูมมากที่สุดที่เป็น Optical Zoom ในส่วนของ Digital Zoom ไม่มีความจำเป็นเนื่องจากระยะการ Zoom มีระยะที่ใกล้นั่นเอง            
 
     5.6 ช่องสัญญาณต่างๆในการเชื่อมต่อ ควรมีช่องสัญญาณ VGA in/AV in/ DVI-Output เพื่อใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นร่วมด้วย
 
     5.7 การรับประกัน และบริการหลังการขาย
 
รายการล่าสุดที่คุณดู
  • l_1487838626.png
    ราคาปกติ 44,000
    ราคาขาย 41,900
Visitors: 332,813