ติดตั้งระบบสตูดิโอเสมือนจริง
ระบบสตูดิโอเสมือนจริง
Television studio
ห้องผลิตรายการโทรทัศน์หมายถึง สถานที่ซึ่งประกอบไปด้วยการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องมือให้เหมาะสมกับการผลิตรายการโทรทัศน์ ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกรายการทั้งรายการลงบนเครื่องเทปบันทึกภาพหรือว่าจะเป็นการนำรายการนั้นๆออกอากาศสดไปยังผู้รับชมโดยตรง กับอีกในกรณีหนึ่งอาจเป็นการบันทึกบางส่วนของรายการลงบนเทปเพื่อนำไปตัดต่อทีห้อง post-production เพื่อให้เป็นรายการโทรทัศน์ที่สมบูรณ์ การออกแบบและตกแต่งห้องผลิตรายการโทรทัศน์จะส่วนคล้ายและได้รับอิทธิพลจากโรงถ่ายทำภาพยนตร์ แต่จะมีข้อแตกต่างปลีกย่อยเป็นพิเศษเพื่อให้เป็นการผลิตรายการโทรทัศน์โดยเฉพาะ สำหรับที่ศูนย์ผลิตรายการโทรทัศน์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจะมีห้องผลิตรายการโทรทัศน์ทั้งหมดจำนวนสี่ห้องด้วยกัน ประกอบด้วยห้องขนาดใหญ่สองห้องและห้องขนาดเล็กอีกสองห้อง โดยที่แต่ละห้องจะแยกเป็นสัดส่วนออกจากกันเพื่อป้องกันเสียงรบกวนซึ่งกันและกันแต่สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางเครื่องมือสื่อสารที่เรียกว่า intercom โดยจะมีส่วนประกอบย่อยเพื่อช่วยในการผลิตรายการโทรทัศน์ดังนี้
Studio floor
หมายถึงตัวพื้นที่ของการแสดงกิจกรรมต่างๆที่อาจอยู่ในรูปแบบของละคร ดนตรี การพูดคุยสนทนาหรือเกมโชว์ ตามแต่ผู้ผลิตรายการจะสร้างสรรค์ออกมาตามจินตนาการ โดยตัวของห้องหรือพื้นที่การแสดงต้องมีคุณสมบัติของส่วนประกอบต่างๆดังนี้
- การประดับตกแต่งหรือฉากประกอบการถ่ายทำ
- ตัวกล้องวิดีโอแบบมืออาชีพติดตั้งอยู่บนขาตั้งกล้องชนิดปรับระดับได้(pedestal) อาจมีจำนวนหลายตัวก็ได้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของรายการนั้นๆ
- อุปกรณ์ไมโครโฟนชนิดต่างๆตามความต้องการ
- หลอดไฟให้แสงสว่างและระบบควบคุมกำลังส่องสว่าง
- จอรับภาพสำหรับดูภาพจำนวนหลายจอที่มาจากแหล่งต่างกัน
- ระบบสำหรับใช้ติดต่อสื่อสาร
- หน้าต่างกระจกที่กั้นระหว่างห้องควบคุมการผลิต(production control room) หรือมีชื่อย่อว่า PCR กับห้องที่ทำการแสดงที่อาจมีหรือไม่มีก็ได้
Production - control room
หมายถึงห้องที่ทำหน้าที่ควบคุมการผลิตรายการโทรทัศน์ให้เป็นตามแผนการทำงานที่ได้วางไว้แล้ว ในบางครั้งห้องนี้อาจใช้ชื่อว่า studio control room (SCR) ก็ได้ ภายในห้องนี้จะมีผู้ทำงานอยู่หลายคนที่ประกอบไปด้วยผู้กำกับรายการ ผู้กำกับเท็คนิค ผู้ควบคุมระบบกล้อง ระบบแสง ระบบเสียง ระบบบันทึกภาพ ระบบสร้างภาพตัวอักษร ทั้งหมดนี้อาจปฏิบัติงานอยู่ภายในห้องเดียวกันหรือว่าแยกกันอยู่คนละที่ก็ได้ ทั้งหมดสามารถสื่อสารกันได้ผ่าน intercom ภายในห้องควบคุมการผลิตรายการโทรทัศน์จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบดังต่อไปนี้
- ส่วนแสดงภาพที่ประกอบไปด้วยจอภาพจากแหล่งภาพต่างๆจำนวนมากเช่น จากกล้องหลายกล้อง จากเครื่องบันทึกภาพจำนวนหลายเครื่อง และอาจมีแหล่งภาพชนิดอื่นๆตามต้องการได้อีก สำหรับในปัจจุบันนี้นิยมใช้ระบบจอภาพรวม (multi viewer function) ที่สามารถนำเอาภาพจากหลายแหล่งมาแสดงรวมกันอยู่ภายในจอขนาดใหญ่อันเดียวได้
- เครื่องผสมสัญญานภาพ ที่มีลักษณะเป็นแผงควบคุมขนาดใหญ่ ประกอบไปด้วยปุ่มกดจำนวนมากใช้ทำหน้าที่เลือกสัญญานภาพจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำไปบันทึกลงเทปหรือออกอากาศสดไปยังผู้รับชม
- เครื่องผสมสัญญานเสียงและอุปกรณ์ประกอบอืีน เช่นเครื่องเล่นและบันทึกเสียงประเภทต่างๆ รวมไปถึงระบบเสียงจากสัญญานโทรศัพท์และระบบกำเนิดเสียงใดๆ
- เครื่องสร้างตัวอักษร (character generator) หรือมีชื่อย่อว่า CG ทำหน้าสร้างสรรค์ตัวหนังสือหรือภาพประกอบรายการ ให้มีรูปแบบสวยงามเพื่อนำไปประกอบรายการ
- ระบบทำเทคนิคภาพพิเศษ (digital video effects)หรือมีชื่อย่อว่า DVE ทำหน้าที่สร้างสรรค์ภาพให้ดูทันสมัยแปลกตาด้วยกรรมวิธีเทคนิคดิจิตัล และในปัจจุบันนี้มันเป็นส่วนประกอบมากับเครื่องผสมสัญญานภาพเลย
- อุปกรณ์สำหรับบันทึกภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวประเภท animation หรืออาจเป็นวิดีโอคลิปสั้นๆ หรืออาจเป็นภาพกราฟฟิกใดๆ แล้วสามารถเรียกกลับมาใช้ประกอบรายการโทรทัศน์ได้ และในปัจจุบันนี้มักประกอบติดมากับเครื่องผสมสัญญานภาพด้วยเลย
- เครื่องบันทึกและเล่นกลับภาพและเสียง (video recorder) ทีในปัจจุบันนี้มีการนำสื่อหลายประเภทมาใช้บันทึกเช่น tape , optical disk , solid state device และตัวเครื่องที่อาจติดตั้งอยู่ในห้องนี้หรือแยกไปอยู่ต่างหากอีกห้องก็ได้
- เครื่องมือวัดและตรวจสอบสัญญานภาพและเสียง(waveform and vector monitor) รวมไปถึงอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของกล้องโทรทัศน์(camera control unit) หรือมีชื่อย่อว่า CCU
- ระบบติดต่อสื่อสาร(intercom)
- ระบบกำเนิดสัญญานอ้างอิง (signal generator)
ห้องผลิตรายการโทรทัศน์เสมือนจริง(Virtual studio)
นิยามศัพท์ของคำนี้สามารถหมายถึง เทคโนโลยีของอุปกรณ์เครื่องมือใดๆก็ตามที่ทำหน้าที่จำลองคุณสมบัติทางกายภาพของห้องถ่ายทำรายการโทรทัศน์หรือโรงถ่ายทำภาพยนตร์ออกมาได้ตามคำจำกัดความข้างต้น
ตามปกติทั่วไปแล้ว virtual studio หมายถึงห้องผลิตรายการโทรทัศน์ที่ซึ่งยินยอมให้มีการเชื่อมโยงกันระหว่างภาพของตัวบุคคลกับส่วนประกอบในภาพที่เป็นวัตถุสิ่งของใดๆอันถูกสร้างขึ้นมาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างสอดคล้องกันที่สุดจนดูเสมือนว่าตัวบุคคลอยู่ในฉากนั้นจริง สำหรับการเชื่อมต่อผสมผสานกันเช่นนั้นถูกกระทำโดยเทคโนโลยีแบบโครมาคีย์ ในขณะที่ปัจจัยสำคัญของระบบห้องถ่ายทำเสมือนจริงคือ การเคลื่อนกล้องที่ใช้ถ่ายทำจริงไปได้ทั้งสามมิติพร้อมกันกับภาพที่ถูกสร้างขึ้นด้วยกล้องเสมือนจริงในคอมพิวเตอร์ โดยทั้งสองส่วนนั้นถูกทำให้เคลื่อนไหวไปพร้อมกันด้วยมุมมองหรือทัศนียภาพที่สอดคล้องกัน ดังนั้นภาพที่ปรากฎโดยฉากเสมือนจริงย่อมแปรเปลี่ยนไปตามการผันแปรใดๆของกล้องไม่ว่าจะเป็นการซูม การแพน มุมกล้อง ทั้งหมดนี้คือความแตกต่างระหว่างระบบของฉากเสมือนจริงกับระบบโครมาคีย์แบบเดิม อีกประการหนึ่งก็คือมันมีความสามารถทำได้แบบในเวลาที่เป็นจริงได้ตลอดเวลา(realtime) อันแตกต่างจากเทคนิคของการสร้างภาพยนตร์ที่จำเป็นต้องผ่านกระบวนการตัดต่อและทำเทคนิคภาพพิเศษเสียก่อน
ในระบบของการสร้างภาพเสมือนจริงประกอบไปด้วยการใช้เทคนิคหลายประการดังนี้
-การติดตามการเคลื่อนที่ของกล้อง(camera tracking) ไม่ว่าจะเป็นระบบการตรวจจับด้วยแสงหรือระบบการตรวจจับด้วยกลไกเพื่อก่อให้เกิดข้อมูลอย่างต่อเนื่องที่ทำหน้าที่อธิบายมุมมองที่แท้จริงของตัวกล้อง
-โปรแกรมซอฟท์ที่นำเอาข้อมูลการเคลื่อนที่ของกล้องแล้วทำหน้าที่สร้างภาพเสมือนจริงของห้องถ่ายทำรายการขึ้นมา(realtime rendering software)
-เครื่องผสมสัญญานภาพ (video mixer) ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงภาพจริงที่เกิดจากตัวกล้องที่ถ่ายทำแบบโครมาคีย์เข้ากับภาพที่สร้างขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยโปรแกรมซอล์ฟแวร์ขึ้นมาให้ออกเป็นสัญญานขาออกเพื่อนำไปบันทึกหรือว่านำไปออกอากาศสดได้ทันที
ข้อดีของการมีฉากเสมือนจริงคืออะไร
ประโยชน์สูงสุดของการมีฉากเสมือนจริงก็คือ สามารถสร้างสรรค์ให้ฉากประกอบดูหรูหรามีราคาแพงโดยที่ไม่ต้องสร้างฉากจริงๆขึ้นมา นอกจากนี้ยังมีข้อดีอื่นอีก ดังนี้
-สามารถเตรียมการได้รวดเร็วกว่าการสร้างฉากจริงขึ้นมา
-เราสามารถเลือกเอาฉากมาจากในรายการที่ได้จัดทำเตรียมไว้ล่วงหน้าและยังสามารถสับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับตัวบุคคลได้ทันที
-เราสามารถถ่ายทำภาพที่เห็นประชาชนทั่วไปจากที่ไหนสักแห่งแล้วก็เพิ่มภาพที่เกิดจากตัวผู้ร่วมรายการที่อยู่ในห้องสตูดิโอเพิ่มเข้าไปในฉากนั้นได้ด้วย
-เราสามารถเลือกกำหนดมุมมองภาพในฉากเสมือนได้หลายตำแหน่ง
-เราสามารถสร้างสรรค์ด้วยการกำหนดให้มีพื้นที่บางส่วนในฉากเสมือนเป็นภาพซ้อนอยู่ในฉากหรือว่ากำหนดให้เป็นส่วนที่เป็นกราฟิก ตัวหนังสือ หรือภาพเคลื่อนไหวก็ได้
เงื่อนไขของฉากเสมือนจริง
-จำกัดตัวผู้ร่วมรายการไว้ที่ไม่เกินสามคน เนื่องจากทำให้เกิดความซับซ้อนยุ่งยากมากขึ้นถ้าหากมีผู้ร่วมรายการมากกว่าสามคน ประการแรกจำเป็นต้องใช้ฉากหลังสีเขียวเพิ่มขึ้นและการจัดแสงอาจทำให้บางสิ่งที่ไม่ต้องการปรากฏอยู่ในภาพด้วย ยิ่งมีวัตถุน้อยชิ้นการแยกแยะออกจากพื้นสีเขียวยิ่งทำได้ดีมากขึ้นด้วย และอันที่จริงแล้วควรจำกัดผู้ร่วมรายการไม่เกินสองคน
-ควรใช้กล้องหลายตัว ทำให้ภาพที่ออกมาดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะถ้าเป็นการสนทนาระหว่างคนสองคนควรใช้จำนวนสามกล้องก็จะสามารถกระตุ้นความน่าสนใจมากกว่าใช้กล้องเดียว
-ยิ่งวางแผนมาก ยิ่งปลอดภัย ถ้าในกรณีที่มีการวางแผนเตรียมการมาดีแล้ว แต่ว่าตัดสินใจเปลี่ยนแปลงภายหลังจากที่เริ่มต้นการทำงานก็ย่อมอาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้
-ควรใช้เทเลพร้อมป์เตอร์ช่วยบอกบท สำหรับผู้ที่จำบทไม่ได้อุปกรณ์นี้มีความจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์น้อยหรือไม่เคยผ่านงานมาก่อน
Visitors: 325,576